พิพิธภัณฑ์บ้านดำ

พิพิธภัณฑ์บ้านดำ จังหวัดเชียงราย

พิพิธภัณฑ์บ้านดำ หรือที่เรียกกันภายในท้องถิ่นคือ บ้านดำ ที่ตั้งอยู่ในจังหวัดเชียงรายถูกสร้างขึ้นมาโดยศิลปินแห่งชาติ อาจารย์ ถวัลย์ ดัชนี ผู้ซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดังในด้านของจิตรกรรม ประติมากรรมที่ในปัจจุบันได้เสียชีวิตลงแล้วแต่ยังคงไว้ซึ่งผลงานด้านศิลปะมากมายไม่ว่าจะเป็นทั้งด้านปฏิมากรรมและภาพเขียน และที่บ้านดำแห่งนี้เป็นศูนย์รวมศิลปะแบบล้านนาเอาไว้โดยที่ทุกหลังจะถูกทาไว้ด้วยสีดำ ในส่วนของบ้านแต่ละหลังจะถูกตกแต่งไว้อย่างสวยงามทั้งประดับไปด้วยไม้แกะสลักและยังมีพวกเขาสัตว์ต่าง ๆ เช่น เขากวาง เขาควาย รวมไปถึงกระดูกสัตว์อย่างเช่น กระดูกช้าง ปัจจุบันบ้านดำเปิดให้เหล่านักท่องเที่ยวสามารถเข้าไปชมความสวยงามได้ทุกวันยกเว้นวันจันทร์ เปิดตั้งแต่เวลา 09.00

Continue reading
วัดไตรมิตร

วัดไตรมิตร

วัดไตรมิตร ตั้งอยู่ใจกลางเมืองหลวงกรุงเทพมหานครอย่าง วัดไตรมิตรวิทยาราม ที่มีนักท่องเที่ยวนิยมเดินทางมากราบไหว้ ขอพรไม่ว่าจะเป็นทั้งชาวไทยและต่างชาติและยังมี พระพุทธทศพลญาน หรือ หลวงพ่อโต วัดสามจีน รวมไปถึงมี พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร หรือ หลวงพ่อทองคำ ที่นับได้ว่าเป็นสิ่งล้ำค่าที่สุดของโลก วัดตั้งอยู่ใกล้กันกับสถานีหัวลำโพงที่แต่เดิมมีชื่อว่า “วัดสามจีนใต้”มาในปี 2482 ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น “วัดสามจีน”  และในปัจจุบันนี้เป็นพระอารามหลวงชั้นโทชนิดวรวิหาร

Continue reading
วัดระฆัง

วัดระฆัง โฆสิตารามวรมหาวิหาร

วัดระฆัง โฆสิตารามวรมหาวิหาร  เดิมมีชื่อว่า วัดบางหว้าใหญ่ ซึ่งเป็นวัดที่เก่าตั้งแต่กรุงศรีอยุธยา  โดยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้ทรงฐานะให้ขึ้นมาเป็นพระอารามหลวง จนมาในสมัยรัชกาลที่ 1 ได้มีการขุดพบระฆังโบราณ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาผู้คนจึงได้เรียกกันว่า วัดระฆัง และรัชกาลที่ 1 ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้นำไปไว้ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งมีสิ่งที่สำคัญของทางวัดแห่งนี้คือ ตำหนักทอง ที่อดีตกาลเคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีและสมเด็จพระสังฆราช(ศรี) ตำหนักจันทน์ หรือ

Continue reading
วัดไร่แตงทอง

วัดไร่แตงทอง จังหวัดนครปฐม

ตั้งอยู่ในจังหวัดนครปฐม ที่จะมีเรื่องราวของ หลวงปู่หลิว และ พญาเต่าเรือน ที่ผู้คนมักจะมากราบไหว้ขอพรกัน หลวงปู่หลิวที่มีชื่อแต่เดิมว่า หลิว แซ่ตั้ง เกิดเมื่อวันที่ 7 ธ.ค 2448 ที่อำเภอ โพธาราม จังหวัดราชบุรี บิดามารดาประกอบอาชีพทำนาจึงทำให้หลวงปู่หลิวมองเห็นถึงความยากลำบากของครอบครัวจึงได้เรียนรู้วิชาช่างและเมื่อเติบโตจึงได้มีฝีมือทางด้านช่างที่เรียกได้ว่าฝีมือดีมากทีเดียว และมีความรู้ในเรื่องของยาสมุนไพรทุกชนิดจนได้เป็นหมอยาของหมู่บ้านและท่านยังมีความจำที่เป็นเลิศ หลวงปู่หลิว มรณภาพ

Continue reading
พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา

พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา เชียงใหม่ – Lanna Folklife Museum

พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา  (Lanna Folklife Museum) ตั้งอยู่ที่อาคารศาลแขวงตรงข้ามอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ ย่านกลางเวียง จังหวัดเชียงใหม่ เรียกได้ว่าเป็นสถานที่ที่ได้มีการรวบรวมและมีการจัดแสดงนิทรรศการของวิถีชีวิตของเหล่าผู้คนในสมัยล้านนา  มีนิทรรศการจัดแสดงถึง 13 ห้องด้วยกันและนิทรรศการหมุนเวียน 5 ห้อง เป็นแหล่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองของดินแดนจากอดีตมาจนถึงปัจจุบัน พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา ทีจะมองเห็นได้อย่างชัดเจนเพราะจะเป็นตัวตึกสีขาวที่ในอดีตเคยเป็นคุ้มกลางเวียงเก่า ที่ปัจจุบันได้มีการจัดแสดงเกี่ยวกับเรื่องราวในการดำเนินชีวิต พุทธประวัติ เครื่องใช้ พุทธศิลป์

Continue reading
ปราสาทนครหลวง

ปราสาทนครหลวง (Prasat Nakhon Luang) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ปราสาทนครหลวง เป็นโบราณสถานที่สวยงามตั้งอยู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาในส่วนของจุดแรกที่เดินเข้าไปแล้วจะพบกับวิหารศิลาจันทร์ลอยศักดิ์สิทธิ์ ภายในของวิหารจะมีแท่นศิลาเป็นรูปทรงกลมที่มีขนาดใหญ่ที่มีตำนานที่เล่าขานสืบต่อกันมาว่า ศิลาจันทร์ลอยได้ลอยมาตามแม่น้ำและมาติดอยู่ที่ฝั่งของวัดแต่ไม่มีใครสามารถที่จะนำขึ้นมาได้ ชาวบ้านจึงได้นำไปบอกกับทางเจ้าอาวาส ท่านจึงได้มีการใช้สายสิญจน์ 3 สายบริกรรมคาถาจึงนำขึ้นมาได้ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีคำสั่งให้อัญเชิญศิลาจันทร์ลอยย้ายมาประดิษฐานที่กรุงเทพแต่ที่สุดแล้วศิลาจันทร์ก็ต้องถูกอัญเชิญกลับมาไว้ยังที่เดิมและได้มีการสร้างมณฑปไว้เป็นที่ประดิษฐาน ต่อมาก็จะเป็นปราสาทนครหลวงที่มีความงดงามยิ่งนัก ในอดีตเมื่อปี 2147 ที่ได้มีการปรากฏขึ้นมาในพงศาวดาร ที่ทางของสมเด็จพระเจ้าประสาททองได้ทรงโปรดฯให้ข่างเข้าไปถ่ายแบบปราสาทเมืองพระนครหลวงที่อยู่ในกัมพูชาและทรงรับสั่งให้สร้างขึ้นมาใกล้กับเทพพระจันทร์ อ.นครหลวง วัตถุประสงค์ที่แท้จริงในการสร้างปราสาทนครหลวงนั้นก็เพื่อให้เป็นศาสนสถานของพระพุทธศาสนาและเมื่อในปี 2356 ตาปะขาวปิ่นได้สร้างวัดนครหลวงและได้มีการนำเอาทั้งปราสาทนครหลวงมาไว้ในเขตพื้นที่เดียวกัน จากนั้นก็ได้มีการสร้างพระบาทสี่ร้อยเอาไว้ที่ชั้น 3

Continue reading