ปราสาทนครหลวง เป็นโบราณสถานที่สวยงามตั้งอยู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาในส่วนของจุดแรกที่เดินเข้าไปแล้วจะพบกับวิหารศิลาจันทร์ลอยศักดิ์สิทธิ์ ภายในของวิหารจะมีแท่นศิลาเป็นรูปทรงกลมที่มีขนาดใหญ่ที่มีตำนานที่เล่าขานสืบต่อกันมาว่า ศิลาจันทร์ลอยได้ลอยมาตามแม่น้ำและมาติดอยู่ที่ฝั่งของวัดแต่ไม่มีใครสามารถที่จะนำขึ้นมาได้ ชาวบ้านจึงได้นำไปบอกกับทางเจ้าอาวาส ท่านจึงได้มีการใช้สายสิญจน์ 3 สายบริกรรมคาถาจึงนำขึ้นมาได้
ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีคำสั่งให้อัญเชิญศิลาจันทร์ลอยย้ายมาประดิษฐานที่กรุงเทพแต่ที่สุดแล้วศิลาจันทร์ก็ต้องถูกอัญเชิญกลับมาไว้ยังที่เดิมและได้มีการสร้างมณฑปไว้เป็นที่ประดิษฐาน ต่อมาก็จะเป็นปราสาทนครหลวงที่มีความงดงามยิ่งนัก ในอดีตเมื่อปี 2147 ที่ได้มีการปรากฏขึ้นมาในพงศาวดาร ที่ทางของสมเด็จพระเจ้าประสาททองได้ทรงโปรดฯให้ข่างเข้าไปถ่ายแบบปราสาทเมืองพระนครหลวงที่อยู่ในกัมพูชาและทรงรับสั่งให้สร้างขึ้นมาใกล้กับเทพพระจันทร์ อ.นครหลวง
วัตถุประสงค์ที่แท้จริงในการสร้างปราสาทนครหลวงนั้นก็เพื่อให้เป็นศาสนสถานของพระพุทธศาสนาและเมื่อในปี 2356 ตาปะขาวปิ่นได้สร้างวัดนครหลวงและได้มีการนำเอาทั้งปราสาทนครหลวงมาไว้ในเขตพื้นที่เดียวกัน
จากนั้นก็ได้มีการสร้างพระบาทสี่ร้อยเอาไว้ที่ชั้น 3 จนมาในปี 2446 พระครูวิหารกิจจานุการได้ทรงทำการปฏิสังขรณ์ประสาทนครหลวงและได้ทำการปฏิสังขรณ์ทั้ง มณฑป พระพุทธรูป พระบาทสี่รอยมณฑปประจำมุมและประจำด้านวิหารคดเก้าอี้ศิลปะในแบบของจีนมาแทนสิ่งก่อสร้างในอดีต
ส่วนของด้านในปราสาทที่มีความสวยงามและส่วนทางด้านของตัวประสาทนครหลวงที่จะมีสามชั้น ชั้นแรกจะเป็นซุ้มปรางค์ ชั้นบนเป็นที่ตั้งของมณฑปประดิษฐานรอยพระพุทธบาทสี่รอยจำลองที่ได้คาดการณ์กันว่าได้ถูกจำลองขึ้นมาจาก วัดพระพุทธบาทสี่รอย อ.แม่ริม เชียงใหม่ ที่มีความเชื่อกันว่าเป็นรอบพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้า ได้แก่
- พระพุทธบาทของพระพุทธเจ้ากกุสันธะ ที่เป็นรอยยาวใหญ่ 12 ศอก
- พระพุทธบาทของพระพุทธเจ้าโกมาคมะที่ยาว 9 ศอก
- พระพุทธบาทของพระพุทธเจ้ากัสสปะยาว 7 ศอก
- พระพุทธบาทของพระพุทธเจ้าโคตะมะยาว 4 ศอก
โดยในอนาคตที่ได้คาดกันว่าจะมีการประทับรอยพระพุทธบาทพระศรีอริยเมตไตรย เรียกได้ว่าที่แห่งนี้มีความสวยงาม อลังการยิ่งใหญ่และมีมนต์ขลัง บรรยากาศเงียบสงบเป็นอย่างมากทีเดียว
ภาพจาก : ayutthayastation