พิพิธภัณฑสถานบ้านเชียง หรือแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง ที่เรียกได้ว่าเป็นแหล่งทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่สำคัญที่สุดในประเทศไทย มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 25 ไร่เศษ ได้ถูกก่อตั้งขึ้นมาภายหลังจากที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์พระบรมราชินีนาถ ได้ทำการเสด็จประพาสไปเยี่ยมชมหลุมขุดค้นทางโบราณคดีเมื่อวันที่ 20 มี.ค 2515 และในการเสด็จครั้งนี้ที่ได้เหมือนเป็นการกระตุ้นและความตระหนักถึงความสำคัญของแหล่งโบราณคดีบ้านเชียงที่ก่อนหน้านี้ได้ประกับปัญหาการลักลอบค้าโบราณวัตถุในยุคนั้น
ภายในจะมีการแบ่งออกเป็นดังนี้
- อาคารสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชนนี ที่ซึ่งเป็นอาคารศูนย์รวมส่วนบริการต่าง ๆ เช่น ห้องประชุด จุดประชาสัมพันธ์และจำหน่ายบัตรเข้าขมและจะเป็นในส่วนของห้องจัดแสดงนิทรรศการหมุนเวียน
- อาคารกัลยาณิวัฒนา ที่ซึ่งเป็นอาคารที่มีการจัดแสดงนิทรรศการหลักและมีในส่วนจัดแสดงที่มี 9 ส่วนด้วยกัน ดังนี้
ส่วนที่ 1 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชกับบ้านเชียงที่จะเป็นการบ่งบอกเกี่ยวกับเรื่องราวการเสด็จปราพาสบ้านเชียงใน พ.ศ.2515 ที่ถือได้ว่าเป็นการพาซึ่งความร่วมมือจากองค์กรต่าง ๆ ในการศึกษาและการพัฒนาแหล่งโบราณคดีบ้านเชียงรวมไปถึงแหล่งอื่นๆ ภายในประเทศไทย พระราชปุจฉาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้เคยตรัสถามเมื่อครั้งที่มีการเสด็จประพาสนั้นได้มีการถูกนำมาจัดแสดงในส่วนนี้ ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการเกริ่นถึงขั้นตอนการศึกษาเกี่ยวกับทางด้านของโบราณคดีในเบื้องต้น
ส่วนที่ 2 ที่จะเกี่ยวกับการดำเนินงานทางโบราณคดี ณ บ้านเชียง ที่ได้มีการนำเสนอลำดับเวลาการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับทางด้านโบราณคดีในบ้านเชียงซึ่งทั้งนี้จะมุ่งเน้นไปถึงเรื่องราวและเหตุการณ์สำคัญที่รวมไปถึงบุคลากรที่เรียกได้ว่ามีส่วนสำคัญของชาวไทยและรวมไปถึงชาวต่างชาติด้วย
ส่วนที่ 3 จะเกี่ยวกับการปฏิบัติงานทางโบราณคดีที่บ้านเชียงแห่งนี้ จะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับขั้นตอนการทำงานและการศึกษาระหว่างการขุดค้นจากนักโบราณคดีในช่วงปี 2517-2518 อย่างเช่น วิเคราะห์โบราณวัตถุที่พบ / การแบ่งประเภทและวีดิทัศน์และบทสัมภาษณ์ประชาชนที่อยู่ในท้องถิ่น
ส่วนที่ 4 จะเป็นในส่วนของหลุมขุดค้นทางโบราณคดีและเป็นจำลองสภาพหลุดขุดค้น ทั้งนี้ที่สามารถเข้ามาชมและรวมไปถึงการสังเกตุการถึงขั้นตอนการทำงานภายในหลุมขุดค้น
ส่วนที่ 5 จะเป็นการจัดแสดงโบราณวัตถุจากการขุดค้นทางโบราณคดีวัดโพธิ์ศรีที่จะมีการแบ่งออกตามช่วงของยุคสมัยของวัฒนธรรมบ้านเชียง 3 สมัยได้แก่ เครื่องมือเครื่องใช้ /เครื่องปั้นดินเผา / เครื่องประดับจากวัสดุธรรมชาติ โลหะ แก้ว หิน เป็นต้น
ส่วนที่ 6 จะเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมบ้านเชียงในช่วงของยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่จะเป็นการจัดแสดงที่ได้มีการจำลองเอาบรรยากาศและโบราณวัตถุที่จะเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตของคนในช่วงของยุคก่อนประวัติศาสตร์
ส่วนที่ 7 จะเกี่ยวข้องกับการค้นพบยุคสำริดที่ได้มีการหายสาบสูญซึ่งนิทรรศการนี้ได้มีการถูกเปลี่ยนแปลงมาจากนิทรรศการที่ได้จัดทำขึ้นมาจากมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ที่จะเป็นเรื่องราวและเป็นการอธิบายการศึกษาทางโบราณคดีในส่วนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นทวีปรวมไปถึงจะเกี่ยวกับการค้นพบวัฒนธรรมในช่วงของยุคสำริดที่แหล่งของบ้านเชียง
ส่วนที่ 8 จะเกี่ยวกับมรดกโลก ที่ได้มีการจัดทำขึ้นมาเพื่อเป็นเกียรติและในปี 2535 ได้ถูกคัดเลือกให้เป็นแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นสิ่งที่สามารถยืนยันได้ว่าหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่มีให้ได้เห็นกันอยู่ในยุคนี้หรือทั้งที่ได้สาบสูญไปแล้ว
ส่วนที่ 9 จะเกี่ยวกับการกระจายตัวของวัฒนธรรมบ้านเชียงที่จะเป็นการจัดแสดงโบราณวัตถุที่ได้มีการถูกค้นพบในช่วงของการสำรวจจากแหล่งโบราณคดีในยุคก่อนประวัติศาสตร์ตั้งแต่ในช่วงปี 2515 ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการศึกษาการกระจายตัวของวัฒนธรรมบ้านเชียงในพื้นที่แอ่งสกลนครและล่าสุดเมื่อไม่นานมานี้ที่ได้มีการค้นพบแหล่งโบราณคดีที่ได้รับอิทธิพลของวัฒนธรรมบ้านเชียงทั้งหมดถึง 127 แหล่งด้วยกันโดยจะกระจายไปตามลุ่มน้ำที่สำคัญใน จ.สกลนคร /อุดรธานี /หนองคาย
- อาคารนิทรรศการไทพวน จะเป็นพื้นที่ที่ได้มีการจัดแสดงเรื่องราวและวิถีชีวิต ประวัติศาสตร์ รวมไปถึงวัฒนธรรมของชาวไทพวน ที่ในปัจจุบันนี้เป็นผู้ซึ่งได้มีการตั้งถิ่นฐานแหล่งโบราณคดีบ้านเชียงนั่นเอง ในอดีตเป็นบ้านของคุณพจน์ มนตรีพิทักษ์ ที่ท่านได้ทรงอนุญาตให้ทางด้านของกรมศิลปากรขุดค้นฯ ซึ่งภายหลังจากที่ทางด้านของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ ได้มีการเสด็จประพาส ทางคุณพจน์ จึงได้บริจาคบ้านและที่ดินให้กับทางกรมศิลปากร ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการรักษาให้คงอยู่ไว้เพื่อเป็นอนุสรณ์และในปี 2550 ยังได้รับพระราชทานรางวัลด้านการอนุรักษ์ศิลปะสถาปัตยกรรมดีเด่นจากทางสมาคม สถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์
- หลุมขุดค้นวัดโพธิ์ศรีใน ที่ได้ทำการตั้งอยู่ในวัดโพธิ์ศรีในที่ห่างจากบ้านเชียงประมาณ 500 เมตรเมื่อวันที่ 20 มี.ค. 2515 ภายหลังจากที่ได้มีการเสด็จประพาส ทางด้านของกรมศิลปะกรได้ทำการปรับปรุงหลุมขุดค้น ทั้งนี้ก็เพื่อทำการจัดแสดงเป็นพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งแห่งแรกของประเทศไทยเรานั่นเอง
พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติบ้านเชียงแห่งนี้ถือได้ว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวและเป็นสถานที่ ๆ จัดแสดงวิถีชีวิตของมนุษย์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ เมื่อราวหลายพันปีมาแล้วที่ให้ผู้คนได้เข้ามารับรู้เกี่ยวกับการดำรงชีวิตของคนในสมัยก่อนย้อนหลังไปได้กว่า 5000 ปีเลยทีเดียว สามารถเข้าไปเยี่ยมชมได้วันพุธ-อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 09.00-16.00 โดยจะมีค่าเข้าชม คนไทย 30 บาท ต่างชาติ 150 บาท