พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติขอนแก่น เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจที่ได้มีการจัดแสดงเกี่ยวกับเรื่องราวท้องถิ่นอีสานทั้งในด้านของทางภูมิศาสตร์ โบราณคดี ประวัติศาสตร์รวมไปถึงพวกวัฒนธรรมพื้นบ้านต่าง ๆ และชาติพันธุ์วิทยา เรียกได้ว่าเป็นพิพิธภัณฑ์ที่ได้รวบรวมเอาวัตถุอันมีค่าของทางอีสานตอนบนเอาไว้ที่แห่งนี้ไม่ว่าจะเป็นข้าวของ เครื่องใช้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสานที่ได้จัดแสดงเอาไว้และมีการแบ่งออกเป็นในยุคสมัยต่าง ๆ
ตัวอาคารจะเป็นสองชั้นรูปทรงแบบไทยประยุกต์ที่มีการเชื่อมต่อกันระหว่างอาคารการจัดแสดงเสมากลางแจ้งและอาคารชั้นเดียว ด้านหลัง ที่นี้มาหลากหลายสิ่งอย่างที่น่าสนใจ มีส่วนจัดการแสดงนิทรรศการและในส่วนของการบริการ ได้แก่
- ส่วนที่ 1 ช่วงก่อนประวัติศาสตร์จะเป็นการจัดการแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับในสมัยอดีตของ จ.ขอนแก่นเอาไว้และจากหลักฐานทางโบราณคดีที่สามารถบ่งบอกได้ว่า เคยมีชุมชมโบราณที่ได้มีการมาตั้งถิ่นฐานอยู่ในเขตนี้เป็นจำนวนมากและยังสามารถที่จะผลิตเครื่องมือ เครื่องใช้ต่าง ๆ และมีการคาดกันว่าน่าจะได้มีการติดต่อกับแหล่งชุมชนภายนอกที่อยู่ห่างออกไปด้วย
- ส่วนที่ 2 ช่วงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมทวารวดี ผู้คนเหล่านั้นที่ได้อาศัยอยู่ในที่ราบลุ่มแม่น้ำชีที่ต่างก็พากันได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมทวารวดี ที่ได้มีการปรากฏเกี่ยวกับการสร้างศาสนสถานทางพระพุทธศาสนา
- ส่วนที่ 3 วัฒนธรรมขอม ที่จะเกี่ยวข้องกับเรื่องราวของขอนแก่นรวมไปถึงพื้นที่ในภาคอีสานตอนบน ที่เมื่อวัฒนธรรมของขอมได้เข้ามามีบทบาทมากยิ่งขึ้นก็ได้มีการปรากฎจากศาสนสถานแบบเขมร ซึ่งจะเห็นได้ว่าการสร้างอาคารที่จะถูกประกอบไปด้วยศิลาทรายและศิลาแลงที่ได้รับการตกแต่งที่สวยงามเต็มไปด้วยภาพสลักของเทพเจ้ามากมาย
- ส่วนที่ 4 วัฒนธรรมล้านช้าง จะเป็นในด้านของการจัดแสดงเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกันกับอิทธิพลของวัฒนธรรมล้านช้างในแถบของลุ่มแม่น้ำโขงรวมไปถึงวัฒนธรรมล้านนาด้วยตามที่ได้เคยปรากฎหลักฐานเกี่ยวกับการพบพระพุทธรูปที่มีความคล้ายกันกับแบบของวัฒนธรรมล้านช้าง
- ส่วนที่ 5 ช่วงของรัตนโกสินทร์ ที่ได้มีการจัดการแสดงเกี่ยวกับเรื่องราวการสร้างเมืองขอนแก่นที่ได้ถูกสร้างขึ้นมาเมื่อสมัยรัชกาลที่ 1 จนมาถึงในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้ทรงโปรดเกล้าฯให้ทำการเปลี่ยนมาจาก เมือง มาเป็น จังหวัดแทน
- ส่วนที่ 6 ห้องศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านอีสาน ที่จะเกี่ยวกับการแสดงองค์ความรู้เกี่ยวกับเรื่องราวและวิถีชีวิต ประเพณี ความเชื่อต่าง ๆ ของคนท้องถิ่นในสมัยนั้น รวมไปถึงผู้คนที่ต่างที่มา ต่างเชื้อชาติที่ได้มาอยู่ร่วมกันในภาคอีสานที่จะปรากฎหลักฐานมาจากการแต่งกาย เครื่องใช้ ที่อยู่ ดนตรีต่าง ๆ ที่จะเป็นตัวชี้ให้เห็นว่าเป็นเอกลักษณ์ของผู้คนในพื้นที่
ทั้งนี้ก็ยังมีวัตถุจัดแสดงและสิ่งที่น่าสนใจอีกมากมาย เช่น
- แผ่นเงินดุน
- พระโพธสัตว์
- ภาพบุคคล
- เจดีย์บรรจุในหม้อดินเผา
- ภาพพระพุทธรูป
- ภาพพระนางพิมพาสยายพระเกศาเช็ดพระบาท
- ใบเสมาหินจำหลักนูนต่ำ
- เทวรูปพระอิศวรหินทรายที่อยู่ในสมัยลพบุรี
- ทับหลังสลักภาพพระอินทร์ทรงขี่ช้างเอราวัณที่อยู่ในสมัยลพบุรี
ถือได้ว่าพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาตินี้มีผู้คนให้ความสนใจที่จะเข้ามาศึกษา หาความรู้เกี่ยวกับเรื่องราวของ โบราณคดี ประวัติศาสตร์ วิถีชีวิต และประเพณี วัฒนธรรมต่าง ๆ ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการสืบสานมรดกในอดีตให้คงอยู่ชั่วลูกชั่วหลานสืบต่อไป
เพิ่มเติม Facebook : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติขอนแก่น