พิพิธภัณฑ์เฉลิมพระเกียรติ ตั้งอยู่บริเวณริมทะเลปากทางเข้าตลาดอ่างศิลา จังหวัดชลบุรี ที่ถือได้ว่าเป็นที่พักตากอากาศที่แห่งแรกของประเทศไทย อ่างศิลาที่ส่วนใหญ่ชาวบ้านมักจะเรียกกันว่า .. อ่างหิน แต่จากหลักฐานในอดีตที่ได้มีการบันทึกชื่อ “อ่างศิลา” เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลเจ้าเกล้าเจ้าอยู่หัว ท่านได้ทรงเสด็จประพาสที่จังหวัดนี้และได้ทรงประทับแรมที่อ่างศิลาและเมื่อวันที่ 9 ม.ค. 2419 พระราชหัตถเลขาได้มีการลงพรรณา “อ่างศิลา” โดยมีความว่า…
จากการที่มีการตั้งชื่อว่า อ่างศิลา เพราะว่ามีแผ่นดินสูงเป็นลูกเนินและยังมีศิลาก้อนใหญ่ ๆ ซึ่งเป็นศิลาดาดเป็นสระยาวรีอยู่ด้วยกัน 2 แห่ง แห่งแรกจะลึกประมาณ 7 ศอก กว้าง 7 ศอก ยาว 10 วาและแห่งที่สอง ลึก 6 ศอก กว้าง 1 วา 2 ศอก ยาว 7 วา โดยจะเป็นที่ซึ่งขังน้ำฝนเพื่อไม่ให้น้ำสามารถซึมไหลผ่านไปได้ ทั้งนี้ท่านเจ้าพระยาทิพากรวงษ์มหาโกษาธิบดีได้ททรงเห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อเหล่าประชาชนจึงได้มีคำสั่งให้ทางปลัดเมืองชลบุรีเป็นนายงานทำการก่อเสริมปากบ่อน้ำเพื่อไม่ให้น้ำที่สกปรกไหลไหลกลับลงไปในบ่อได้
ไม่เพียงเท่านั้นที่ยังช่วยให้ชาวบ้านและชาวเรือที่สัญจรไปมาได้ต่างอาศัยน้ำฝนในอ่างนี้ เมื่อคราวที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงเสด็จประพาสตามหัวเมืองต่างๆ ทางฝ่ายของเสนาบดีกรมท่าหรือเจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดีได้ทำการสร้างพลับพลารับเสด็ตจเพื่อได้ใช้เป็นที่ประทับในโอกาสที่เสด็จประพาสหัวเมืองชายทะเล
ภายหลังจากนั้นได้มีการสร้างขึ้นมาอีกหลังหนึ่งแต่เป็นเพียงแค่หลังเล็กๆ ที่ได้มีการเรียกกันว่า “อาศรัยสถาน” ที่มักจะมีชาวต่างชาติเข้ามาพัก ต่อมาตึกทั้งสองหลังนี้ได้มีการบูรณะปฏิสังขรอีกครั้งและได้มีการพระราชทานนามตึกขึ้นมาใหม่โดยหลังใหญ่มีชื่อว่า “ตึกมหาราช” และหลังเล็ก “ตึกราชินี”
สำหรับในด้านของที่มาของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ที่ด้วยกระทรวงศึกษาธิการได้มีการมอบหมายให้ทางด้านของสำนักงานสามัญศึกษาของจังหวัดชลบุรีได้ร่วมกับทางราชการรวมไปถึงเหล่าประชาชนได้ทำการกำหนดโครงการพัฒนาพิพิธภัณฑ์เฉลิมพระเกียรติทั้งสองตึกนี้ขึ้นมา ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการแสดงออกถึงความจงรักภักดีเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวโรกาศทรงมีพระชนมายุ 72 พรรษาเมื่อวันที่ 5 ธ.ค. 2542
ในด้านของรูปแบบทางสถาปัตยกรรมของตึกมหาราชที่จะเป็นในรูปทรงที่ได้มีการผสมผสานกันระหว่างไทย จีนและตะวันตก โดยได้มีการก่ออิฐถือปูน 2 ชั้น ส่วนของหลังคาจะเป็นทรงปั้นหยามีการเอียงลาดมาด้านหน้าจะเป็นแบบจั่วมุงกระเบื้องแต่จะไม่มีชายคายื่นมาจากผนังและไม่มีกันสาดไว้เพื่อบังแดดบังฝน ได้มีการใช้ซุ้มโค้งเป็นแบบครึ่งวงกลมและในส่วนบริเวณชั้นล่างส่วนหน้ามุข ส่วนของบันไดจะเป็นทางขึ้นโดยจะมีการแยกออกเป็น 2 ทางด้วยกัน
ในส่วนของตึกราชินีที่จะเป็นในรูปแบบของสถาปัตยกรรมที่ได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงสมัยรัชกาลที่ 4 ซึ่งจะเป็นอาคารที่ได้มีการก่อเป็นอิฐถือปูน 2 ชั้น ในด้านของระเบียงจะติดกับพื้นดินโดยจะรองรับในส่วนของหน้าอาคารที่จะสัมพันธ์กับพื้นที่ดินที่จะเป็นในรูปแบบที่เอียงลาด
ส่วนของหลังคาจะเป็นรูปทรงปั้นหยายกจั่ว ฝั่งทางด้านของหน้าอาคารที่จะหันหน้าออกไปทางทะเลและจะมีมุขยื่นออกมาทั้งบนและล่าง ส่วนบานประตูที่จะเป็นรูปโค้ง ด้านบนจะเป็นแบบกระจกล่างจะเป็นบานลูกฟักไม้ ส่วนหน้าต่างจะเป็นบานคู่ ด้านบนจะเป็นกระจกช่องแสง ระเบียงจะเป็นแบบปูนปั้นมะหวด
การสร้างทั้งหมดนี้ได้รับการออกแบบโดยช่างไทยซึ่งเป็นไปตามความต้องการของชาวต่างชาติที่มีความประสงค์จะใช้อาคารนี้เพื่อเป็นที่ไว้ในการพักผ่อนชายทะเลนั่นเอง ส่วนตึกราชินี ที่ชาวบ้านมักจะเรียกกันว่า ตึกแดง เมื่อครั้งในอดีตเมื่อปี 2449 ที่เจ้าจอมมารดาเจ้าดารารัศมี พระสนมเอกในรัชกาลที่ 5 ท่านได้ทรงเคยพักรักษาพระองค์ ณ ที่แห่งนี้และท่านได้ทรงเห็นว่าที่นี้กันดารน้ำจืด ต่อมาจึงได้มีคำสั่งให้จ้างขุดบ่อน้ำจืดเพื่อให้เหล่าประชาชนที่นี้ได้มีน้ำจืดไว้ใช้
ส่วนตึกมหาราช ที่ชาวบ้านเรียกกันว่า ตึกขาว ที่แห่งนี้ได้มีการจัดแสดงวัตถุที่เป็นวิถีทำมาหากินของชาวบ้านที่นี้ที่แบ่งออกเป็นหมวดหมู่นั่นก็คือ การแกะสลักหิน เช่น ครกหิน ที่ถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์และสินค้าที่มีชื่อเสียงของชาวบ้านตำบลนี้ /
การทำประมง ที่ถือว่าเป็นอาชีพหลักของชาวบ้านตั้งแต่อดีตมาถึงปัจจุบันด้วยการจับสัตว์น้ำด้วยหลากหลายวิธีการเช่น การทำโป๊ะ อวนลาก , อวนล้อม ,อวนลอย ,เลี้ยงหอยนางรม หอยแมลงภู่ เป็นต้น
การทอผ้า ที่ในยุคนี้เรียกได้ว่าหาดูกันได้ยากมาก ผ้าทอของที่นี้มีคุณสมบัติพิเศษคือ ยิ่งซักจะยิ่งนุ่มเพราะก่อนที่จะนำไปทอจะนำเอาเส้นด้ายไปนวดกับข้าวเจ้าจนเป็นเนื้อเดียวกันแล้วนำไปตากและเมื่อแห้งเรียบร้อยแล้วจึงนำไปทอด้วยกี่กระตุก ผ้าทอจะมีหลากหลายลวดลายด้วยกันเช่น ลายดอกพิกุล ที่ถือได้ว่าเป็นลายที่ทำยากที่สุดจึงทำให้ลายนี้มีราคาที่แพง
ปัจจุบันนี้สามารถหาดูผ้าทอ 10 ผืนที่ยังคงเหลืออยู่ได้ที่บ้านยายไอซ์ที่ต่อไปคงจะหลงเหลือทิ้งไว้เพียงแค่ตำนานที่จะถูกเล่าขานสืบต่อไปชั่วลูกชั่วหลาน