วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร

วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร

วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร  มีชื่อเดิมว่า วัดสะแก เป็นวัดที่อยู่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้ได้ทำการปฏิสังขรณ์ขึ้นมาพร้อมด้วยรับสั่งให้ขุดคลอดรอบพระอารามซึ่งได้มีการแต่งตั้งชื่อขึ้นมาใหม่ว่า วัดสระเกศ ที่หมายความว่า ชำระพระเกศา

ในอดีตที่แห่งนี้ได้เคยทรงเป็นที่ประทับเพื่อทำพิธีพระกระยาสนาน ได้เสด็จกรีธาทัพ มาจากกัมพูชาเพื่อมาปราบจลาจลให้แก่กรุงธนบุรี จากนั้นในปี 2325 ได้มีการเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดห้าจุฬาโลกมหาราชทรงได้มีการเปลี่ยนชื่อวัดนั้นได้มีหลักฐานปรากฏขึ้นมาว่า พระราชวิจารณ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลเจ้าเกล้าเจ้าอยู่หัวเกี่ยวกับเรื่องของจดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวนรินทรเทวีข้อ 11 โดยมีเนื้อหาว่า รับสั่งพระโองการ วัดสะแก เรียก วัดสระเกศ แล้วบูรณปฏิสังขรณ์

พระบรมบรรพต

ต่อมาในสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ได้มีรับสั่งให้ทำการบูรณะและได้สร้างพระบรมบรรพต หรือ ภูเขาทองได้มีการกำหนดให้เป็นพระปรางค์ที่มีฐานย่อมุมไม้สิบสองแต่ในการสร้างครั้งนี้กลับไม่สำเร็จ หลังจากนั้นเมื่อได้มาถึงสามัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงได้รับสั่งให้มีการเปลี่ยนให้เป็นภูเขา ด้วยการก่อเจดีย์ไว้บนยอดซึ่งได้กลายเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ การก่อสร้างได้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและทรงได้ให้พระราชทานนามว่า สุวรรณบรรพต ที่มีความสูงประมาณ 77 ม.ส่วนด้านบนของยอดได้ทำเป็นที่ตั้งของพระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ

สุวรรณบรรพต

ในปี พ.ศ.2363 ได้เกิดโรคระบาดที่ชื่อว่า โรคห่า ขึ้นมาในกรุงเทพฯซึ่งในเวลานั้นยังหาวิธีรักษาไม่ได้ทำให้ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้ทำพิธีที่มีชื่อว่า “พิธีอาพาธพินาศ” ที่ได้จัดทำขึ้น ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท มีทรงอัญเชิญพระแก้วมรกตพร้อมด้วยพระบรมสารีริกธาตุออกมาแห่ร่วมกับได้มีการรับสั่งให้ยิงปืนใหญ่รอบพระนคร มีพิธีทำบุญเลี้ยงพระ ปล่อยสัตว์ ทรงรับสั่งให้ประชาชนอยู่แต่ในบ้านแต่ถึงกระนั้นก็ยังคงมีคนตายด้วยโรคนี้อยู่โดยรวมทั้งสิ้น 3 หมื่นกว่าคนเลยทีเดียว

เมรุปูนวัดสระเกศ

สภาพบ้านเมืองในตอนนั้นมองไปทางไหนก็จะเห็นว่ามีคนนอนตายกันเกลื่อนกลาดทำให้ผู้คนต่างก็หลบหลีกออกจากเมืองไป ทำให้ ณ ช่วงเวลานั้นวัดสระเกศได้กลายเป็นศูนย์รวมของแร้งมากมาย

แร้งวัดสะเกศ

ในปี 2392 โรคห่าก็ได้ระบาดหนักไปอีกหลังจากนั้นที่มีผู้คนล้มตายเพิ่มมากยิ่งขึ้นทำให้รัชกาลที่ 4 ได้ทรงรับสั่งให้วัดได้แก่ วัดสระเกศ วัดบางลำพู วัดตีนเลน ให้ใช้เป็นสถานที่เผาศพซึ่งวัดสระเกศมีศพมากที่สุดจึงเป็นเหตุให้พวกแร้งลงไปกินซากศพเป็นจำนวนมากมายที่เป็นเหตุให้ แร้งวัดสระเกศ เป็นที่กล่าวขานกันอย่างแพร่หลาย

แร้งวัดสะเกศ

ภายในวัดสระเกศ เป็นที่ประดิษฐานของพระบรมบรรพรตแล้วก็ยังมี พระประธาน พระอุโบสถ พระเจดย์เหลี่ยมและยังมีหอไตร โพธิ์ลังกา ที่ปัจจุบันนี้นับว่าเป็นวัดที่เก่าแก่อีกหนึ่งแห่งในกรุงเทพฯที่ต่างมีผู้คน แวะเวียนมาท่องเที่ยวและกราบไหว้ และบริเวณนั้นก็ยังมีร้านอาหารให้แวะชิมกันหลากหลายและตอนนี้ก็ได้กลายเป็นจุดท่องเที่ยวที่น่าสนใจมากยิ่งถ้าไปตอนกลางคืนยิ่งสวยงามนัก

วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *