ปราสาทเมืองต่ำ ตั้งอยู่บริเวณหน้าวัดปราสาทบูรพาราม ตำบลจระเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นหนึ่งในกลุ่มปราสาทมรรคโคที่เป็นศาสนสถานที่สร้างขึ้นมาตามคติความเชื่อของทางศาสนาฮินดูซึ่งได้มีการสันนิษฐานกันว่า สร้างขึ้นเพื่อถวานพระศิวะที่มีลักษณะเป็นศาสนสถานประจำเมืองหรือประจำชุมชนและถือได้ว่าเป็นศาสนสถาน ศิลปะแบบปาปวนอายุประมาณ พ.ศ. 1551-1630 หรือราวพุทธศตวรรษที่ 16-17
ชื่อที่ชาวบ้านใช้เรียกโบราณสถานแห่งนี้ว่า เมืองต่ำ เพราะด้วยตัวปราสาทตั้งอยู่บนพื้นราบส่วนปราสาทพนมรุ้งตั้งอยู่บนเชิงเขาที่ปราสาททั้งสองตั้งอยู่ไม่ไกลกันมากห่างกันเพียงแค่ 8 กิโลเมตรเท่านั้น ส่วนเรื่องของวัสดุส่วนหนึ่งจาก โบราณสถานและโบราณวัตถุของปราสาทเมืองต่ำ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดชที่ได้ทรงนำมาเป็นส่วนประกอบในการทำพระเครื่องที่ได้มีการเรียกกันขึ้นมาว่า พระสมเด็จจิตรดา
ปราสาทเมืองต่ำ ได้ถูกสร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 16 ในศิลปะบาปวนตอนต้นและได้ถูกลดความสำคัญลงในพุทธศตวรรษที่ 18 ที่ต่อมาก็ได้ถูกทิ้งไว้ให้ร้างไปในที่สุดจนมาถึงเมื่อปี พ.ศ.2490 ได้เริ่มมีชาวบ้านอพยพเข้ามาอาศัยและตั้งถิ่นฐานอยู่
ภายในปราสาทเมืองต่ำ จะประกอบไปด้วย
ภาพสลักดอกบัวแปดกลีบ ที่จะอยู่บริเวณภายในซุ้มด้านทิศตะวันออกที่มีการแกะสลักเป็นลายเส้นรูปดอกบัว 8 กลียที่หมายถึง จุดกำหนดในการตั้งจิต อธิษฐานบูชาเทพเจ้าหรือหมายถึงการจำลองแผนผังของจักรวาลอันประกอบไปด้วยทิศสำคัญทั้ง 8 ทิศ
สระน้ำระเบียงคด ที่เป็นสระ 4 สระที่รายล้อมระเบียงคดที่มีลักษณะเป็นรูปตัวแอลที่ได้มีการก่อสร้างขึ้นมาด้วยศิลาแลงเป็นขั้นบันไดไปถึงก้นสระส่วนทางด้านบนของสระก็ได้มีการแกะสลักไว้ด้วยหินทรายเป็นลำตัวนาคที่มีมุมสลักเป็นนาค 5 เศียร สระน้ำทั้ง 4 ใช้เพื่อประกอบพิธีทางศาสนา
ปราสาทแถวหน้าองค์ทิศเหนือ ที่ถูกสร้างขึ้นมาจากอิฐที่แต่กอ่นมีลวดลายเป็นปูนปั้นประดับส่วนทับหลังก็ทำมาจากหินทรายสลักภาพพระศิวะคู่กับพระอุมาประทับนั่นเหนือ โคนนทิที่เรียกกันว่า อุมามเหศวร
ปราสาทแถวหลังองค์ทิศเหนือ ถูกสร้างขึ้นมาด้วยอิฐแต่ก่อนเป็นลวดลายของปูนปั้นประดับและทับหลังสร้างจากหินทรายสลักภาพพระกฤษณะยกภูเขาโควรรธนะเพื่อปกป้องคนเลี้ยงวัวและฝูงวัวให้พ้นจากอันตราย
ปราสาทแถวหลังองค์ทิศใต้ สร้างจากอิฐแต่ก่อนเป็นลวดลายปูนปั้นประดับและทับหลังสร้างมาจากหินทรายสลักภาพเทพเจ้าประทับนั่งเหนือหงษ์ที่ได้ถูกสันนิษฐานกันว่าเทพเจ้านี้หมายถึงพระวรุณเทพผู้รักษาทิศตะวันตก
ปรางค์ประธาน ที่ตั้งอยู่บริเวณตรงกลางเยื้องมาข้างหน้าเล็กน้อยระหว่างปรางค์บริวารทั้งสองที่มีขนาดใหญ่กว่าปรางค์บริวารอีก 4 องค์ซึ่งบริเวณทับหลังเป็นหินทรายแต่ตอนนี้ปรางค์ประธานได้ถล่มลงมาเหลือคงไว้เพียงแค่เฉพาะฐานที่ก่อด้วยศิลาแลง
กลุ่มปราสาทอิฐ ซึ่งเป็นอาคารที่นับว่าสำคัญที่สุดและตั้งอยู่บริเวณตรงกลางของตัวปราสาทเมืองต่ำที่ใช้เป็นที่ประดิษฐานรูปเคารพและประกอบพิธีบวงสรวงเทพเจ้าประกอบไปด้วยปราสาทอิฐ 5 อง๕ที่ได้ถูกตั้งไว้บนศิลาแลงเดียวกันและกลุ่ม 5 องค์นี้แสดงสัญลักษณ์แทนเขาพระเสเมรุศูนย์กลางจักรวาลปราสาทประธานที่บริเวณส่วนกลางคือส่วนของพระประธานที่ได้ปรักหักพังลงไปแล้วเหลือเพียงแค่ฐานเท่านั้น
ปราสาท ประกอบ 4 หลังที่เป็นปราสาทอิฐ ที่ตอนนี้ได้มีการบูรณะให้มีสภาพที่สมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว หน้าบันด้านหน้าอยู่ครบ
บรรณาลัย ที่สร้างขึ้นมาจากอิฐอยู่ด้านหน้าของกลุ่มปราสาทอิฐข้างละ 1 หลัง อาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าด้วยรูปแบบของอาคารเป็นสถานที่เก็บรักษาคัมภีร์ตำราทางศาสนาหรือาจเป็นสถานที่ประดิษฐานรูปเคารพ
ทะเลเมืองต่ำ หรือว่า สระบาราย ที่ตั้งอยู่บ้านโคกเมือง เป็นสระน้ำที่มีขนาดใหญ่ที่ได้มีการขุดขึ้นมาในสมัยเดียวกันกับตอนที่สร้างปราสาทที่อยู่ห่างจากตัวปราสาทเมืองต่ำไปทางทิศเหนือประมาณ 200 เมตร กว้าง 510 เมตร ยาว 1,090 เมตรลึก 3 เมตรขอบสระเป็นศิลาแลง 3 ชั้นบนขอบสระด้านยาวคือ ทางด้านของทิศเหนือและทิศใต้มีท่าน้ำเป็นชานกว้างขนาด 6.90 เมตรและยาว 17 เมตร พื้นถูกปูด้วยศิลาแลงลาดลงไปยังฝั่งน้ำที่ได้ถูกก่อขึ้นมาเป็นบันไดท่าน้ำเป็นทางลงไปที่สระ 5 ขั้นและมีท่าน้ำทั้งสองฝั่งอยู่ในแนวตรงกันประมาณกึ่งกลางของขอบสระ
การเดินทาง
จากตัวเมืองบุรีรัมย์ใช้เส้นทางสาย 23 มาอำเภอประโคนชัยระยะทาง 44 กิโลเมตรต่อไปยังบ้านจระเข้มากจะสังเกตเห็นตัวปราสาทเมืองต่ำอยู่ระหว่างทาง เปิดให้เข้าชมได้ทุกวันระหว่าง 07.30-18.00 ค่าชมคนไทย 10 บาท ต่างชาติ 30 บาท