วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร หรือชื่อเดิมที่เรียกกันว่า วัดมะกอก เป็นวัดที่อยู่ในสมัยโบราณตั้งแต่อยุธยาซึ่งมีที่ตั้งอยู่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยาที่อยู่ทางทิศตะวันออก วัดที่มีการสร้างขึ้นในตำบลบางมะกอกต่อมาใน พ.ศ 2310 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชมีพระราชประสงค์ให้ได้มีการย้ายราชธานีมาตั้ง ณ กรุงธนบุรีจึงเสด็จกรีฑาทัพล่องมาทางชลมารถมาถึงหน้าวัดมะกอกนอกในรุ่งอรุณของอีกวันพอดี จึงได้มีการเปลี่ยนชื่อจากวัดมะกอกนอกมาเป็น วัดแจ้ง
ถือกันว่าวัดแจ้งเป็นวัดที่อยู่คู่บ้าน เมืองเนื่องจากเป็นวัดที่ได้มีการประดิษฐานของพระแก้วมรกตและพระบางและได้มีการสมโภชใหญ่ถึง 7 คืน 7 วันและต่อมาในปี พ.ศ2327 พระแก้วมรกต ได้ย้ายมาประดิษฐาน ณ วัดพระศรีรัตรนศาสดาราม
เมื่อรัชกาลที 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราชเสด็จเถลิงถวัลราชสมบัติได้มีการโปรดให้สร้างพระนครใหม่ฝั่งตะวันออกของแม้น้ำเจ้าพระยาและทรงรับสั่งให้รื้อกำแพงพระราชวังกรุงธนบุรีออก
วัดแจ้ง จึงไม่ได้อยู่ในเขตของพระราชวังอีกต่อไป ต่อมาพระองค์จึงได้โปรดให้วัดแจ้งได้มีการจำพรรษาของพระสงฆ์และได้มีการมอบหมายให้สมเด็จ พรเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ากมหลวงอิศรสุนทรเป็นผู้ดำเนินการปฏิสังขรณ์วัดแจ้งแต่ไม่สำเร็จท่านทรงสิ้นเสียก่อน
ในเวลาต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ได้ทรงดำเนินการปฏิสังขรณ์ต่อจนเสร็จและได้ทรงปั้นหุ่นพระพุทธรูปด้วยผีพระหัตถ์และได้โปรดพระราชทานนามวัดว่า วัดอรุณราชธาราม จนมาถึงรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงโปรดให้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์เพิ่มและทรงเปลี่ยนชื่อเป็น วัดอรุณราชวราราม
ขอบคุณภาพและข้อมูลจากเว็บไซต์ watarun.org , dhammathai.org , kapook.com